จุลอุตุนิยมวิทยา (Micrometeorology)
การรับแสงของทรงพุ่มเป็นกุญแจสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ดี
ความจำเป็นในการตัดแต่งทรงพุ่มมะนาวช่วงเจริญเติบโตเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งสร้างและแหล่งรับในพืช (Source&Sink interrelationships)
แหล่งสร้าง (Source) เป็นอวัยวะหรือส่วนของพืชที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร (photosynthate) ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของพืชเพื่อการเจริญเติบโต แหล่งสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ใบที่เจริญเต็มที่หรือใบคลี่สุด (mature leaves)
แหล่งรับ (Sink) เป็นอวัยวะหรือส่วนของพืชที่ใช้หรือเก็บสะสมสารอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสงชอง Source ได้แก่ ราก ดอก และ ผล
โดยทั่วไป พื้นที่ทรงพุ่มของมะนาวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย
พื้นที่ชั้นนอกสุด (A) กินเนื้อที่ประมาณ 30% เป็น Source ที่สำคัญที่สุดเนื่องจากได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง โดยมีปริมาณแสงที่พื้นผิวได้รับประมาณ 60-100% พื้นที่ทรงพุ่มบริเวณนี้จะสามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (sun leaves)
พื้นที่ใบชั้นกลาง (B) กินเนื้อที่ประมาณ 35% เป็น Source ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาเนื่องจากมีการบังกันของใบ((Shading of Leaves ) ในบางส่วนทำให้ใบไม่ได้รับแสงอย่างทั่วถึงตลอดทั้งวัน พื้นที่ใบชั้นกลางมีปริมาณแสงที่พื้นผิวได้รับประมาณ 30-59%
พื้นที่ใบด้านในทรงพุ่ม (C) เป็นแหล่งรับที่ไม่ถูกใช้สร้างสังเคราะห์แสงสร้างอาหารเนื่องจากได้รับแสงน้อยหรือไม่ได้รับแสงเลยเนื่องจากมีการบังกันชองใบ กินเนื้อที่ประมาณ 35% ของพื้นที่ทรงพุ่มทั้งหมด ปริมาณแสงที่พื้นผิวได้รับประมาณ 0-29% เป็นส่วนที่ดีรับแสงน้อยมากถึงไม่ได้รับแสงเลย ใบในทรงพุ่มจัดเป็น sink ที่ไม่เกิดประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหารมากที่สุด
จะเห็นได้ว่า การรับแสงของทรงพุ่ม (light perception) จะขึ้นอยู่กับพื้นที่รับแสงของใบ (Leaf Area Index, LAI) และการกระจายของความหนาแน่นของพื้นที่ใบ (Leaf Area Density) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการกระจายแสงภายในทรงพุ่ม (light distribution ) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะนาว รวมทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเป็นอย่างยิ่ง
มะนาวในช่วงเจริญเติบโตหรือระยะก่อนให้ผลผลิตโดยเฉพาะการทำมะนาวนอกฤดูจึงไม่ควรมีทรงพุ่มแน่นทึบเกินไปหรือมีจำนวนใบมากเกินไปโดยเฉพาะพื้นที่ใบด้านในทรงพุ่ม เพราะพื้นที่ใบส่วนนี้จะไม่ทำหน้าที่สร้างอาหาร นอกจากนั้นยังจะเกิดการแก่งแย่งเอาอาหารจาก Source ไปใช้หรือเก็บสะสมไว้
การตัดแต่งทรงพุ่มด้านบนและด้านในทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดสามารถส่องถึงทั่วทั้งทรงพุ่มตลอดทั้งวันเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เรามีพื้นที่ Source มากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะนาวและช่วยให้มะนาวติดดอกออกผลได้ดียิ่งขึ้นด้วยนะครับ
ขอขอบพระคุณท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ที่กรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพมะนาวสวยๆของสวนมะนาว ชัชติพงษ์ ไว้ ณ ที่นี้เด้วยครับ
cr. สวนสร้อยอังกูร บ้านไร่ริมธาร กลุ่ม กลุ่มน้องมะนาวแสนรัก
วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ปลูกแบบไม่ขุดหลุม
ปลูกแบบไม่ขุดหลุม
สภาพดินแบบนี้คือดินเหนียวจัดแบบท้องนาที่ยกร่องเป็นสวนผลไม้ ถ้าขุดหลุมปลูกเวลารดน้ำจะเกิดน้ำขังในหลุมนี้ เพราะดินโดยรอบเป็นดินเหนียวจัด ซึ่งระบายน้ำออกไปได้ยาก รากจะแช่น้ำ อ่อนแอ เป็นโรคตายได้ง่าย วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหา คือ ปลูกบนดินแล้วให้รากแผ่จากบนผิวดินจุดที่วางต้นกล้าแผ่ออกไปยังจุดที่เหมาะสมที่รากจะเลือกเจริญออกไปเอง วิธีนี้คือเลือกจุดที่จัดวางต้นกล้า นำปุ๋ยคอก,แกลบดิบ,หินฟอสเฟต และโดโลไมท์ หว่านกระจายบางๆ แล้วทำปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ ใส่เบ็กน้อยบริเวณที่วางเข่ง แล้วจึงนำเข่งกล้าไม้มาวาง ใช้ดินผสมใส่รอบๆเข่ง ถ้าจำเป็นต้องป้องกันลมโยก ก็ตอกไม้ยึดขอบเข่งให้แน่น ควรย้ายกล้าไม้ลงปลูกในเข่งในเรือนเพาะชำก่อน ต้นกล้าแข็งแรงดีแล้วก็ยกเข่งมาวาง ณ จุดที่ต้องการ คอยรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ รากจะเจริญเต็มเข่งแล้วแทงลงดิน และงอกไปในทิศทางที่เหมาะสมได้เอง ควรมีการใช้สารละลายดินดานทั้งในพุ่มและรอบพุ่มอย่างน้อยปีละครั้ง จะทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ระบายน้ำและรากเจริญได้ดีและเร็วขึ้น ควรมีการใส่ปุ๋ยและวัสดุบำรุงดินต่างๆเป็นระยะๆ และปลูกหญ้าบนผิวดินด้วย เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของรากให้เหมาะยิ่งขึ้นต่อการเจริญเติบโต วิธีนี้เหมาะกับที่นายกร่อง ที่ดินเหนียวจัด ซึ่งระบายถ่ายเทน้ำยาก ทำให้พืขไม่เป็นโรคง่าย แข็งแรง ทนทาน ถ้าปลูกไม้ผลก็จะออกดอกติดผลได้ง่าย ต้านทานต่อพายุได้ดีกว่าแบบปลูกในหลุม.
วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558
มาปลูกมะนาวอินทรีย์กันเถอะ
มาปลูกมะนาวอินทรีย์กันเถอะ
มะนาวก็สามารถปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์และกลุ่มจุลินทรีย์
ถ้าใช้อย่างถูกวิธีด้วยความเข้าใจ ก็สามารถให้ผลผลิตที่ดี
มีคุณภาพได้ 100% ปลอดภัยไร้สารพิษ
อยากจะปลูก 5ไร่ขอความรู้หน่อยครับ
ขอความรู้หน่อยครับ เห็นหลานท่านว่าภาคอีสานปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้าไม่ได้จริงหรือครับ ใครพอมีประสบการณ์ในการทำมะพร้าวน้ำหอมในเขตอีสานบ้าง อยากทราบว่าจะหวานจะหอม คุณภาพเรื่องผลผลิตจะใกล้เคียงกับของบ้านแพรวไหม อยากจะปลูก 5ไร่แต่ต้องหาข้อมูลก่อนครับ. ขอบคุณครับ
การใส่ปุ๋ยต้นมะนาว
ปุ๋ยที่ใช้ |
ได้เวลาใส่ปุ๋ยน้องนาวแล้วจร้า
การใส่ปุ๋ยทุกครั้งผมจะผสมเคมี1ส่วนอินทรีย์3ส่วนใส่ต้นล่ะ3กำมือหว่านทั่วๆบริเวณต้นโดยการผสมแม่ปุ๋ยใช้เอง ตามระยะเวลาการดูแล
ระยะเวลาการใส่ปุ๋น20วันต่อครั้ง มะนาว200ต้นใช้ปุ๋ยเคมี15กก ปุ๋ยอินทรีย์50กก ต้นทุน400กว่าบาทต่อครั้ง ประหยัดมากและได้ผลคุ้มค่ามากครับ
การใส่ปุ๋ยทุกครั้งผมจะผสมเคมี1ส่วนอินทรีย์3ส่วนใส่ต้นล่ะ3กำมือหว่านทั่วๆบริเวณต้นโดยการผสมแม่ปุ๋ยใช้เอง ตามระยะเวลาการดูแล
ระยะเวลาการใส่ปุ๋น20วันต่อครั้ง มะนาว200ต้นใช้ปุ๋ยเคมี15กก ปุ๋ยอินทรีย์50กก ต้นทุน400กว่าบาทต่อครั้ง ประหยัดมากและได้ผลคุ้มค่ามากครับ
ผสมปุ๋ย |
โรยปุ๋ยใส่ต้นมะนาว |
จากมนุษย์เงินเดือนสู่ดินแดนบ้านนอก
วันนี้ครบรอบ1ปี ที่หันหลังก้าวเดินมาจากเมืองฟ้า เมืองสวรรค์ กลับสู่ดินแดนบ้านนอก คอกนา บ้านเกิดเมืองนอน หนีการใช้ชีวิตแบบมนุษย์เงินเดือน ไม่มีอิสระ ชีวิตอยู่ภายในกรอบ ห่างไกลครอบครัว นานๆเข้าก็ทำงานแบบไร้จิตวิญญาณ จึงตัดสินใจ กลับคืนถิ่นไปตายเอาดาบหน้า โดยเริ่มเข้าสู่อาชีพค้าขายและทำเกษตรเป็นอาชีพเสริม 1ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกมีความสุขมากกับการทำเกษตร(มากกว่าค้าขาย)มีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้าสวน ได้ทำในสิ่งที่รัก ที่ชอบ ปัจจุบันพอใจกับการใช้ชีวิตที่ไม่เคยคิดว่าเราจะทำได้ ตอนนี้ให้กลับไปเป็นมนุษย์เงินเดือนอีกบอกเลยว่าไม่ค่ะ ขอเป็นนายตัวเอง อิสระในชีวิต ถ้าเราไม่ยึดติดกับเรื่องเงินเป็นหลักเชื่อว่าเราอยู่ได้ค่ะ
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วิธีดูใบมะนาว
วิธีดูใบมะนาว รักมะนาวต้องดูใบ
อาการพื้นใบเหลืองซีด แต่เส้นกลางใบและเส้นใบยังคงมีสีเขียวตามภาพเป็นอาการขาดสังกะสี (Zn) ของมะนาว
ใบมะนาวที่ขาด Zn |
Zn เป็นจุลธาตุ ( Micronutrient Elements) ที่จำเป็นสำหรับพืชโดยมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีนและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์เมมเบรนและเอนไซม์บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) หรือส่วนที่เป็นสีเขียว
หากขาดธาตุสังกะสีจะทำให้ปริมาณออกซิน (auxin)ในตายอดลดลง ส่งผลให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบเหลืองเล็กซ้อนกันแตกออกมาในลักษณะพุ่มแจ้ อัตราการสังเคราะห์แสงสร้างอาหารและการเจริญเติบโตลดลง มะนาวจะแคระแกร็น ผลผลิตลดลง
โดยทั่วไป ภาวะการขาด Zn ของมะนาวมีสาเหตุมาจากปัจจัย 3 ประการ ได้แก่
1. ดินหรือวัสดุปลูกเป็นดินเหนียวที่ขาด Zn โดยธรรมชาติ นอกจากนั้นคุณสมบัติของดินเหนียวที่มีแรดินเหนียว (clay mineral) ทำให้เกิดภาวะการตรึงฟอสเฟตในดิน (Phosphorus fixing) ทำให้เกิดการขัดขวางการละลายและการดูดใช้ Zn รวมไปถึงธาตุุอาหารอื่นๆในดินหรือวัสดุปลูก
2. ค่า pH ของดินหรือวัสดุปลูกรวมไปถึงค่า pH ของน้ำที่เป็นด่าง (pH>7) ทำให้ Zn อยู่ในรูปที่มะนาวไม่สามารถดูดใช้ได้ (ไม่อยู่ในรูป Zn++)
3. มีการให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัส (P) สูงทั้งทางดินหรือทางใบในปริมาณมากหรือบ่อยครั้งจนเกินไป จนทำให้เกิดการสะสมในดินหรือวัสดุปลูกหรือสะสมในต้นมะนาวจนทำให้เกิดการขัดขวางการดูดใช้ Zn อันเป็นผลจากความเป็นปฏิปักษ์กันของธาตุทั้งสองนี้ (Antagonism)
หากมะนาวแสดงอาการขาดธาตุสังกะสี การแก้ไขระยะสั้นทำได้โดยการให้ธาตุสังกะสีทางใบ
อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการใช้ดินเหนียวเป็นวัสดุปลูก การจัดการค่า pH ของดินและน้ำให้เหมาะสม (ค่า pH ประมาณ 6-6.5) และ การให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุอาหารที่เหมาะสมจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันปัญหาการขาดธาตุอาหารของมะนาวในระยะยาวได้อย่างแท้จริง
ที่มา สวนสร้อยอังกูร บ้านไร่ริมธาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)